สัญญาณมือสำหรับควบคุม รถปั๊มคอนกรีต

12/07/2020 | 8408

สัญญาณมือสำหรับควบคุม รถปั๊มคอนกรีต
ปั๊มบูม (Boom Pump)

          โดยสัญญาณมือสำหรับควบคุม รถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.   สัญญาณมือสำหรับการขับรถปั๊มคอนกรีต

2.   สัญญาณมือสำหรับการควบคุมปั๊มบูม (Boom Pump)

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก รถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump) เบื้องต้นกันกอ่น เพื่อจะได้เห็นภาพว่ารถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump) เป็นอย่างไร สามารถทำอะไรได้บ้าง

รถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump)

ปั๊มประเภทนี้ ช่างบ้านเราเรียกปั๊มงวงหรือปั๊มบูม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อ ส่ง จะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก และทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีตจะถูกจำกัดโดยความยาวของบูม ตามขนาดต่าง ๆ การทำงานนั้นจะต้องกางขาออกเพื่อรองรับ น้ำหนัก และกางแขนบูมออกโดยจะใช้รีโมทคอนโทรลบังคับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

ประเภทงานที่เหมาะสมคือ
งานเทคอนกรีตพื้นที่ กว้างๆ หรืออาคารที่มีความสูงประมาณ 7 ชั้น

คอนกรีตที่ใช้ในการยิงปั๊ม
           ต้องเป็นคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัด (STRENGTH) 240 Ksc.CU ขึ้นไป และคอนกรีตต้องมีค่ายุบตัว (SLUMP) มาตรฐานที่ 10+2.5 เซนติเมตร

พื้นที่ในการติดตั้งปั๊มบูม
            จะต้องเป็นพื้นที่ราบและไม่มีการยุบตัวของดิน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 x 10 เมตร และต้องไม่มีสิ่งกีด ขวางในแนวดิ่ง เช่น สายไฟหรือกิ่งไม้ใหญ่ เป็นต้น

ประสิทธิภาพในการลำเลียงคอนกรีต
            สูงสุด 160 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้ความเร็วในการลำเลียงคอนกรีตขึ้นอยู่กับสภาพหน้างานหรือคุณภาพของคอนกรีตหรือการจัดส่งคอนกรีตไปยังหน่วยงาน

          เมื่อรู้จัก รถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump) กันพอสมควรแล้ว มาดูสัญญาณมือสำหรับควบคุมรถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump) กันเลย

สัญญาณมือสำหรับการขับรถปั๊มคอนกรีต

สัญญาณมือสำหรับการควบคุมรถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม (Boom Pump)

          มาดูส่วนต่างๆของรถปั๊มคอนกรีต ปั๊มบูม(Boom Pump)เพื่อให้เข้าใจสัญญาณมือได้ง่ายขึ้น โดยมีส่วนต่างๆดังภาพข้างล่างนี้

     

จากสัญญาณมือข้างต้นมีทั้งแบบ การขับรถปั้มคอนกรีตและการควบคุมปั๊มบูม (Boom Pump)เบื้องต้น สำหรับผู้ที่สนใจก็ลองขยับทำท่าทางตามภาพในบทความนี้ให้ชำนาญ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้งานจริง




บทความจาก แผนกตรวจสอบและพัฒนา

PST Group