ไฟฟ้าแรงสูง
อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง
ไฟฟ้าแรงสูงคืออะไร
คือระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายไฟฟ้าสูงเกินกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไป
ทำไมจึงต้องใช้ระบบไฟฟ้าแรงสูง
ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงจะสามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ในระยะทางที่ไกลและมีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำดังนั้นการส่งกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพจึงต้องส่งด้วยระบบไฟฟ้าแรงสูงแทบทั้งสิ้น
ไฟฟ้าแรงสูงมีอันตรายอย่างไร
เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก เมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220 โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถที่จะกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุ หรือสิ่งที่มีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือแตะสายไฟ หากวัตถุนั้นอยู่ภายในระยะที่อันตรายที่ไฟฟ้าแรงสูงนั้นสามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้จะขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้าโดยแรงดันยิ่งสูงระยะที่ไฟฟ้าสามารถ
กระโดดข้ามได้ก็จะยิ่งไกลไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมาก สถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้นมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและทุพพลภาพประมาณปีละเกือบ 100 คน
สายไฟฟ้าแรงสูงจะมีฉนวนหุ้มอยู่หรือไม
สายไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่ที่ใช้ส่งกระแสไฟฟ้าตามถนนหรือทุ่งนานั้น ส่วนใหญ่จะไม่มีฉนวนหุ้มหรือ
หากมีฉนวนหุ้ม ก็จะหุ้มบางๆ ไว้เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ปลอดภัยที่จะสัมผัสหรือ แตะต้อง การหุ้มฉนวน
ที่ปลอดภัยนั้น จะต้องมีฉนวนที่หนามีการพันทับด้วยสายชีล (shield) และมีเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่งทำให้สายมีน้ำหนักมาก จึงไม่สามารถพาดไปบนเสาไฟฟ้าทั่วไปได้
เราจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้านั้นเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง
เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงมีระยะอันตรายที่จะกระโดดข้ามได้ ดังนั้น จึงต้องมีการจับยึดสายไฟฟ้าด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าในจำนวนที่พอเหมาะกับไฟฟ้าแรงสูงนั้น ฉนวนไฟฟ้าที่ใช้กันส่วนใหญ่จะทำด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นชั้นๆ มีรูปร่างเหมือนชามคว่ำที่เรียกว่าลูกถ้วย ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตว่าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงได้จากการยึดสายไฟฟ้าด้วยลูกถ้วยเป็นชั้นๆ ซึ่งจำนวนชั้นของลูกถ้วยจะบ่งบอกถึงระดับแรงดันไฟฟ้าแรงสูงนั้นๆวิธีสังเกตว่าเป็นไฟฟ้าแรงสูงอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับความสูงของสายไฟสายไฟฟ้าแรงสูงมักจะอยู่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป สายไฟฟ้าที่อยู่สูงกว่ามักจะมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่ต่ำ
ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงมีระดับแรงดันไฟฟ้าเท่าใด
ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวง ปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ ถึง 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่และมีการจ่ายด้วยระบบ 23,000 โวลต์อยู่บ้างการเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้าแรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควีหรือกิโลโวลต์ เช่น 12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ 12 กิโลโวลต์ เป็นต้น
การไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงไว้อย่างไร
ระยะห่างระหว่างสายกับอาคาร/ป้ายโฆษณา มาตรฐานระยะห่างในแนวนอนที่ปลอดภัยระหว่างอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณากับสายไฟฟ้าแรงสูงมีการกำหนดไว้ดังนี้ |
||
ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) |
ระยะห่างจากสายไฟฟ้าในแนวนอนไม่น้อยกว่า ( เมตร ) |
|
อาคาร/ระเบียง |
ป้ายโฆษณา |
|
12,000 – 24,000 |
1.80 |
1.50 |
69,000 |
2.13 |
1.80 |
115,000 |
2.30 |
2.30 |
230,000 |
3.00 |
3.00 |
หมายเหตุ ระยะดังกล่าวไม่ครอบคลุมการทำงานนอกตัวอาคาร หรือบนระเบียงเปิด อาจมีการ ยื่นวัตถุออกนอกตัวอาคาร |
ระยะห่างระหว่างสายกับผู้ปฏิบัติงาน/เครื่องกล |
||
ขนาดแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) |
ระยะห่างที่ปลอดภัย ( เมตร ) |
|
12,000 –69,000 |
3.05 |
|
115,000 |
3.20 |
|
230,000 |
3.90 |
|
|
หมายเหตุ |
เราจะทราบได้อย่างไรว่าสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นมีระดับแรงดันเท่าใด
วิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือการนับจำนวนชั้นของลูกถ้วย ที่ใช้ยึดจับสายไฟฟ้าอยู่ดังนี้
จำนวนชั้นของลูกถ้วยคว่ำ ( ชั้น ) |
แรงดันไฟฟ้า ( โวลต์ ) |
2 – 3 |
12,000 – 24,000 |
4 |
69,000 |
7 |
115,000 |
14 |
230,000 |
อีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้สังเกตจากความสูงของสายไฟฟ้าเทียบกับอาคาร
ระดับความสูงของสายไฟฟ้า |
แรงดันไฟฟ้า ( โวลต์ ) |
อาคารชั้นที่ 2 – 3 |
12,000 – 24,000 |
อาคารชั้นที่ 4 – 5 |
69,000 – 115,000 |
อาคารชั้นที่ 6 ขึ้นไป |
230,000 |
อุบัติภัยเนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอะไร
อุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขณะทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงโดยมีสาเหตุมาจากความประมาทหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ถึงภัยอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงทำให้ขาดความระมัดระวังระหว่างการทำงานจนเกิดอุบัติเหตุขึ้น
ลักษณะงานที่เสี่ยงต่ออันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงมีอะไรบ้าง
ในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นลักษณะงานที่มักเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้าแรงสูงได้แก่งานก่อสร้าง เช่น งานก่อสร้างอาคาร สะพานลอยทางด่วน งานซ่อมและปรับปรุงสาธารณูปโภคต่างๆ งานตอกเสาเข็ม ปั้นจั่น รถเครน เป็นต้นงานติดตั้ง เช่น งานติดตั้งป้ายโฆษณา เสาอากาศทีวี เหล็กดัด กระจก อลูมิเนียม ไฟประดับ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการทำงานใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง
1.ห้ามทำนั่งร้านค้ำหรือคร่อมใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง ที่ไม่มีฉนวนปิดคลุมขณะที่ทำการ
ก่อสร้างหรือติดตั้งป้ายโฆษณา
2. ห้ามทำงานใกล้สายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง ในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง
3. ห้าม ฉีด พ่น เทหรือราดน้ำใดๆ ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง
4. ห้ามสอยสิ่งใด ๆ ทุกชนิดที่ติดอยู่ที่สายไฟฟ้าแรงสูง เช่น ว่าว สายป่าน ลูกโป่งสวรรค์ เป็นต้น
5. ห้ามจุดไฟเผาขยะหรือหญ้ารวมทั้งการทำอาหารทุกชนิด เช่น การปิ้ง ย่าง ผัดหรือทอด
ที่ทำให้ความร้อนและควันไฟรม หรือพ่นใส่สายไฟฟ้าหรือฉนวนไฟฟ้าแรงสูง เพราะจะทำให้
ฉนวนไฟฟ้าเสื่อมสภาพ ทำให้มีไฟฟ้ารั่วและเกิดลัดวงจรจนไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้างและ
ในบางกรณีอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดด้วย
6. ห้ามจับ ดึง หรือแกว่งลวดสลิงเหล็กที่ใช้ยึดโยงเสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณโคนเสาไฟฟ้าเพราะอาจจะไปกระทบสายไฟฟ้าแรงสูงหรือทำให้มีสายไฟฟ้ารั่วลงมาได้
7. ห้ามไต่หรือขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าทุกชนิดทุกกรณี
8. ห้ามยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายหรือนำวัสดุอื่นใด เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงมากกว่าระยะที่กำหนด
9. ไม่ควรติดตั้งเสาอากาศโทรทัศน์ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงเพราะว่านอกจากจะทำให้รับ
สัญญาณได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนแล้วยังอาจเกิดอุบัติเหตุถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดใน
ระหว่างทำการติดตั้งอีกด้วยและในวันข้างหน้าหากเสาอากาศล้มลงมาแตะสายไฟฟ้าแรงสูง
ด้วยลมพายุหรือด้วยเหตุอื่นใดก็ตาม นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านจะชำรุดแล้ว
บุคคลภายในบ้าน อาจได้รับ อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง และยังทำให้ ไฟฟ้าดับเป็น
บริเวณกว้างอีกด้วย
10 . ผู้เป็นเจ้าของป้ายชื่อสถานที่ประกอบการที่ติดตั้งตามอาคาร และผู้ดำเนินการติดตั้ง
ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ บนดาด ฟ้าอาคารหรือริมถนนใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ต้องหมั่นดูแล
ตรวจสอบ ความแข็งแรงของฐานและโครงเหล็กที่ใช้ติดตั้ง ป้ายโฆษณา
11. การก่อสร้างอาคาร บ้านพักอาศัยและปลูกต้นไม้ต้องห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงตามระยะที่กำหนด เพื่อป้องกันมิให้สัมผัสกับสายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
12. ควรระมัดระวังเครื่องมือกลทุกชนิดที่ใช้ในงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ งานปรับปรุง
หรือก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าระยะที่กำหนด
13. ควรระมัดระวังผ้าคลุมกันฝุ่น ระหว่างทำการก่อสร้าง มิให้ปลิวมาสัมผัสสายไฟฟ้า
14. กิ่งไม้ที่แตะสายไฟฟ้าจะทำให้มีไฟรั่วลงมาตามกิ่งไม้ทำให้อาจได้รับอันตรายจาก
ไฟฟ้ารั่วได้จึงต้องระมัดระวังคอยดูแลตัดแต่งกิ่งไม้ไม่ให้เข้าใกล้สายไฟฟ้าเกินระยะที่
กำหนด หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อการไฟฟ้านครหลวง
15. เมื่อเกิดเพลิงไหม้ผู้ที่จะใช้เครื่องมือดับเพลิง ควรมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้
เครื่องมือดับเพลิงว่าเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิงซึ่งเกิดกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าหรือไม่และ
ระยะห่างเท่าใด
16. ควรติดตั้งป้ายหรือสัญญาณเตือนภัย แสดงเขตอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง เสมอ
ข้อควรระวังอันตรายจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด |
1. หลีกเลี่ยงการยืนอยู่ที่โคนเสาไฟฟ้า หรือใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าและ |
2. เมื่อพบว่ามีสายไฟฟ้าแรงสูงขาด ให้ดำเนินการดังนี้ |
3. ถ้าสายไฟฟ้าแรงสูงขาดและพาดอยู่กับรถยนต์ที่ขับ หรือจอดอยู่ มีข้อแนะนำดังนี้ |
4. หากสายไฟฟ้าแรงสูงขาดตกน้ำ ให้หลีกให้พ้นจากบริเวณที่มีน้ำให้มากที่สุดแล้วแจ้งการไฟฟ้านครหลวงพร้อมกับกันคนไม่ให้เข้าใกล้น้ำในบริเวณนี้ |
5. หากพบว่ามีเสียงดังคล้ายเสียงผึ้งบินบริเวณอุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าแรงสูงบนเสาไฟฟ้า ให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงที่ใกล้ที่สุด เพื่อดำเนินการแก้ไข |
สายไฟฟ้าแรงสูงที่ได้รับการหุ้มหรือคลุมสายจากการไฟฟ้านครหลวงแล้ว จะมีความ ปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ |
การหุ้มหรือคลุมสายจะช่วยให้สามารถทำงานในระยะที่ใกล้มาดขึ้นเท่านั้น มิได้หมายความว่ามีความปลอดภัยเพียงพอที่จะสัมผัสได้ ท่านยังคงต้องระมัดระวังในการทำงานเช่นเดิม |
การบริการของการไฟฟ้านครหลวงเกี่ยวกับสายไฟฟ้าแรงสูง |
การไฟฟ้านครหลวงยินดีที่จะบริการผู้ใช้ไฟฟ้าทุกท่าน ให้ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด หากท่านพบเห็นสภาพผิดปกติใดๆ ที่เกิดขึ้นกับเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ลูกถ้วยรับสาย สายยึดโยงเสา ฯลฯ หรือต้องการให้การไฟฟ้านครหลวงหุ้มสายไฟฟ้าในกรณีที่ต้องการทำงานใกล้สายไฟฟ้า ท่านสามารถติดต่อได้ที่การไฟฟ้านครหลวงเขตต่างๆ |
เสาไฟฟ้าขนาดแรงดัน 115 KV
บูมปั๊มคอนกรีตต้องห่างจากสายไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 5 เมตร