ทำไมกลยุทธ์การจัดซื้อถึงสำคัญ?
คุณเคยไหม ทำไมแก้ปัญหาเรื่องซัพพลายเออร์มาส่งของช้าเท่าไหร่ ก็ยังคงมีปัญหาอยู่
หรือต้องการจะลดต้นทุน แต่ก็หมดมุกไปขอลดราคาจากซัพพลายเออร์แล้ว
เหตุผลที่ปัญหามันกลับมาซ้ำๆเดิมๆแบบนี้ก็เพราะว่าคุณไม่มีกลยุทธ์ในการจัดซื้อนั่นเองการมีกลยุทธ์ก็เหมือนเรือที่มีหางเสือที่จะพาคุณไปสู่เป้าหมายที่คุณตั้งไว้
เรามาดูกันดีกว่าครับว่าทำไมกลยุทธ์การจัดซื้อถึงสำคัญ
หากไม่มีกลยุทธ์การจัดซื้อ ผลกระทบที่ตามมาจะเป็นอย่างไร?
กับการไม่มีกลยุทธ์การจัดซื้อ ผลกระทบที่ตามมานั้น(เสียหาย)ประเมินค่าไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบในรูปแบบของการเงิน ประสิทธิภาพการทำงาน แม้กระทั่งชื่อเสียงของธุรกิจ เรามาดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง
มีแต่การแก้ไขปัญหารายวันแบบ fire-fighting ตลอดทุกวัน เช่น ของไม่พอ ของขาด ของเกิน เนื่องจากเราไม่มีแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ
เพราะทุกอย่างด่วนไปหมด สั่งแล้วอยากได้เลย เพราะมิเช่นนนั้นกระบวนการผลิตจะสะดุด
คุณจะไม่สามารถลดต้นทุนการซื้อของได้เลยหากคุณไม่มีกลยุทธ์การจัดซื้อเพื่อที่จะเลือกว่าจะลดต้นทุนของชิ้นไหน ทำแล้วคุ้มค่าหรือไม่
ลองนึกภาพดูนะครับ ใน worse case scenario ที่วัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตของคุณไม่สามารถจัดหามาได้ตามจำนวนและเวลาที่ต้องการ การผลิตก็ดำเนินการต่อไม่ได้ ยุ่งเลยนะครับ ผลที่ตามมาก็คือส่งมอบลูกค้าไม่ทันตามกำหนด สินค้าที่ได้อาจจะไม่ได้คุณภาพ
สุดท้ายธุรกิจของคุณจะแข่งขันสู้คู่แข่งของคุณไม่ได้ ชื่อเสียงเสียหาย ความน่าเชื่อถือก็โดนทำลายเช่นกัน
จะเห็นได้ว่า จริงๆแล้ว เมื่อมองย้อนกลับไป การทำกลุยทธ์การจัดซื้อเป็นเรื่องที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คนส่วนใหญ่มักมักมองข้ามการจัดซื้อจัดจ้างไป ด้วยเหตุผลที่ว่า “แค่ซื้อของเอง จะอะไรมากมาย” หรือ “เอาไว้ก่อน รีบซื้อเข้ามาก่อน พี่รีบใช้” หากคุณพัฒนากลยุทธ์การจัดซื้อขึ้นมาตั้งแต่แรก ผลกระทบต่างๆที่เขียนไว้ในบทความนี้จะหายไปทั้งหมด ธุรกิจของคุณจะได้ cost saving มหาศาล โอกาสการเกิด supply disruption ลดลง กระบวนการจัดการในซัพพลายเชนจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ตามมาคือลูกค้าแฮ้ปปี้ เพิ่มขีดการแข่งขันและความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณ
ทำไมต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อ?
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ และสาเหตุว่าทำไมต้องใช้ e-Procurement เข้ามาช่วยในการวางแผนระบบจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์กร โดยสามารถแยกย่อยรายละเอียดได้ดังนี้
● เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดซื้อขององค์กรกับคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์
● เพื่อพิจารณาและค้นหาสินค้าหรือบริการสำหรับองค์กรที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด
● เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติตามสัญญา ลดข้อผิดพลาด และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างฝ่ายจัดซื้อขององค์กรและฝั่งของซัพพลายเออร์
● เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดการงานเอกสาร ลดตัวเลือกที่ไม่สำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้ได้สินค้าที่ต้องการ
● เพิ่มระยะเวลาในการวางแผนเพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการวางแผนระบบจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์กร
3 กลยุทธ์ เปลี่ยนโฉมระบบจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนให้ธุรกิจ
1.จัดซื้อจัดจ้างอย่างฉลาด : รวบรวมข้อมูลของ Supplier ค้นหาผู้ขายที่ให้ราคาดีที่สุด
หากคุณยึดติดอยู่กับผู้ขายสินค้าเจ้าเดิมๆ คุณจะไม่มีวันรู้เลยว่า สินค้าแบบเดียวกันนี้ อาจมีผู้ขายรายอื่นที่ให้ราคาถูกกว่า หรือมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมอะไรบ้าง? ดังนั้น ขั้นแรกของการเปลี่ยนระบบจัดซื้อจัดจ้าง คือ รวบรวมข้อมูล และเปรียบเทียบราคาสินค้าที่ต้องการ จากหลายๆ แหล่ง เพื่อหาผู้ขายที่ให้ราคาดี มีโปรโมชั่น หรือสามารถซื้อแบบติดเครดิตเทอม*ได้ อาจจะเสียเวลาซักหน่อย แต่รับรองว่าคุณจะได้สินค้าเดิมในราคาที่ถูกลง ช่วยประหยัดต้นทุนที่ต้องจ่ายได้แน่นอน
2.เปลี่ยนโฉมระบบจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยเทคโนโลยีการจัดซื้อแบบใหม่ (e-Procurement)
สำหรับฝ่ายจัดซื้อ คงรู้ดีอยู่แล้วว่างานจัดซื้อเป็นงานที่มีหลายขั้นตอน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต่างก็มีค่าใช้จ่ายยิบย่อยแฝงอยู่ (ต้นทุนแฝง) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานจัดซื้อจะช่วยลดขั้นตอน ประหยัดเวลาการทำงาน และลดต้นทุนแฝงยิบย่อยต่างๆ ลงได้ ซึ่งเทคโนโลยีที่จะช่วยเปลี่ยนโฉมให้การจัดซื้อจัดจ้างของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ e-Procurement
ระบบ e-procurement คืออะไร
e-Procurement คือระบบจัดซื้อจัดจ้างที่มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดระยะเวลาในการทำงาน ลดความยุ่งยากซับซ้อนของเอกสาร และช่วยในการบริหารจัดการด้านการจัดซื้อจัดจ้างภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้บริหารยังสามารถติดตามคำสั่งซื้อได้ในทุกขั้นตอน
3.เก็บข้อมูลการใช้จ่ายในอดีต เพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อจัดจ้างในอนาคต
การจัดซื้อจัดจ้างทุกครั้ง ควรมีข้อมูลรีพอร์ตเก็บเอาไว้เสมอ ซึ่งข้อมูลการจัดซื้อในอดีต นอกจากมีไว้สำหรับตรวจสอบความโปร่งใสของการจัดซื้อแล้ว ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดซื้อครั้งต่อไปได้อีกด้วย ข้อมูลการจัดซื้อในอดีต จะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวม และสามารถตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ เช่น ตัดรายการสินค้าที่ไม่จำเป็นออก หรือ ลดปริมาณสินค้าบางชนิดลง เพราะที่ผ่านมาอาจมีการซื้อตุนมากเกินไป หรือเหลือทิ้ง เป็นต้น เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรลงได้แล้ว