เรื่องระบบพ่นสีอัตโนมัติ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

17/05/2023 | 1210

 เรื่องระบบพ่นสีอัตโนมัติ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม 

ระบบพ่นสีอัตโนมัติ ในโรงงานอุตสาหกรรม จะเริ่มต้นจากการออกแบบ ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง มีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ลักษณะการพ่นสี จึงมีความแตกต่างกันในรายละเอียดมาก ในการออกแบบต้องคำนึงถึงส่วนประกอบต่างๆ ประกอบด้วย

1.   เครื่องจักรประเภทเครื่องพ่นสีออโต้ (Auto Painting Machine) ประกอบด้วย

1.1 ปั๊มพ่นสีอัตโนมัติ โดยต้องเลือกว่าจะพ่นสีระบบลม Air spray ,ระบบพ่นสีแบบไม่ใช้ลม Airless spray ,ระบบ Air mix ,ระบบพ่นสีฝุ่น Poder coat ซึ่งการพ่นสีแต่ละแบบจะมีปั๊มชนิดอัตโนมัติที่ ผู้ออกแบบระบบต้องเลือกให้เหมาะสม

1.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานควบคู่กันกับงานพ่นสี เช่น ปืนพ่นสี (Spray Gun) มีระบบไฟฟ้าสถิต หรือ พ่นระบบเบล เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ใข้จะเข้ากับปั๊มสีที่เลือก เป็นต้น

1.3 ระบบการผสม จ่ายสี อัตโนมัติ มีตั้งแต่ ระบบสีวนภายในสายลำเลียง เปิดพ่นโดยกดปุ่ม เปิดพ่นโดยเซ็นเซอร์ เป็นต้น

ตัวอย่าง ไดอะแฟรมปั๊ม ปั๊มพ่นสีอัตโนมัติ ระบบผสมจ่ายสี และปืนพ่นสี สำหรับพ่นสีระบบลม หรือ Air spray


ตัวอย่าง ปั๊มพ่นสีอัตโนมัติ ปืนพ่นสี และระบบผสมจ่ายสี สำหรับ พ่นสีระบบ Airless spray


ตัวอย่าง ปั๊มพ่นสีอัตโนมัติ ปืนพ่นสี และระบบผสมจ่ายสี สำหรับ พ่นสีระบบ Airmix


ตัวอย่าง ปั๊มพ่นสีอัตโนมัติ ปืนพ่นสี และระบบผสมจ่ายสี สำหรับ Powder coat สีฝุ่น

2.   ระบบล้างชิ้นงานก่อนเข้าพ่นสี

คราบสกปรกนับเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการพ่นสี ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะบางครั้งสิ่งสกปรกเหล่านั้นอาจไม่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน เนื่องจากสิ่งสกปรกอาจจะมาในลักษณะคราบเล็ก ๆ โดยสิ่งสกปรกที่ว่านั้นประกอบไปด้วย เศษดินทราย จารบี คราบมัน หรือ สนิม เป็นต้น ขั้นตอนการทำความสะอาดสามารถเริ่มได้จากการยิงทรายเพื่อเคลียร์พื้นผิวให้สะอาด จากนั้นจึงตามด้วย น้ำยาขจัดคราบไขมัน และ สนิม เพื่อให้พื้นผิวของงานมีความเรียบและให้สีสามารถเกาะเข้ากับเนื้อวัสดุได้มีประสิทธิภาพนั่นเอง

3.   บู๊ทพ่นสี (Spray Booth) มีการออกแบบระบบต่างๆ ในบู๊ท ได้แก่

3.1 ระบบคลีนรูมสำหรับงานพ่นสี (Clean Room System) เป็นการออกแบบห้องให้มีระบบอากาศ มีแรงดัน มากหรือน้อยกว่าแรงดันอากาศภายนอก ทำให้ฝุ่นสีไม่สามารถเข้าหรือออกห้องได้ เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นสีในอากาศ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

3.2 ระบบแอร์ซัพพลายสำหรับงานพ่นสี (Air Supply System) เป็นระบบเติมอากาศเข้าสู่ห้องพ่นสี เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเข้าภายในห้องพ่นสี ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ได้มาตรฐานตามอุตสาหกรรม พร้อมทั้งออกแบบให้สามารถควบคุมเรื่องอุณหภูมิและความความชื้นภายในห้องปฏิบัติงาน

3.3 ระบบบำบัดฝุ่นสีสำหรับงานพ่นสี ปัจจุบัน มีหลักๆอยู่ 2 ระบบ ซึ่งได้รับความนิยมและใช้งานกันในทุกๆโรงงานคือ

3.3.1 ห้องพ่นสี ม่านน้ำ - โดยคุณสมบัติสำคัญของตู้พ่นสีม่านน้ำ คือการใช้น้ำช่วยในการดักละอองสี จึงทำให้ระบบห้องพ่นสีแบบนี้ มีประสิทธิภาพในการดักฝุ่นละอองได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้ทำงานพ่นสีทำงานโดยไม่ต้องสูดดมสีจนเกิดอันตรายจากการทำงาน

3.3.2 ห้องพ่นสี ชนิดแห้ง - โดยใช้แผ่นใยฟิวเตอร์กรองขนาดต่างๆ ตามประเภทของละออง ซึ่งจะมีจุดเด่นที่ความประหยัด และใช้งานได้ง่าย การติดตั้งไม่ยุ่งยากมากนัก และไม่ต้องการคำนึงการจัดการระบบน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นจากงานพ่นสีแบบ ห้องพ่นสีม่านน้ำ

3.4 ระบบการอบสี ตู้อบ (Oven) ส่วนใหญ่จะใช้กับงานพ่นสีฝุ่น หรือ Powder coat แต่ก็มีสีบางชนิดที่พ่นแล้วต้องการอบเพื่อให้เกิดฟิล์มสีเร็ว เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ปัจจุบันมี หลายแบบ ได้แก่

-           การอบสีด้วยลมร้อนแบบใช้แก๊ส จะมีส่วนประกอบของเตาหลายอย่าง เช่น หัวเตาเผา Gas burner เนื่องจากระบบความปลอดภัยในการใช้แก๊สต้องเป็นไปตามมาตราฐาน ต้องมีวาล์วควบคุมหลาย ขั้นตอน ทำให้ใช้เงินลงทุนแรกสูงกว่าตู้อบสีไฟฟ้า แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายใน ระยะยาวได้มากกว่า

-           การอบสีด้วยลมร้อนแบบใช้ไฟฟ้า (Electrical oven) เหมาะสำหรับงานอุณหภูมิต่ำไปจนถึงปานกลาง หากใช้อบชิ้นงานที่อุณหภูมิสูง ราคาต้นทุนในการใช้งาน (Operating cost) จะสูงกว่าแก๊สมาก

3.5 ระบบการลำเลียงชิ้นงาน (Conveyor) ปัจจุบันใช้งาน อยู่ 3 แบบ ได้แก่

-           Overhead conveyor ระบบสายพานลำเลียงที่ลำเลียงสินค้าอยู่เหนือศรีษะโดยเป็นชนิดโซ่ลำเลียง มีลักษณะเป็นการแขวนชิ้นงานโดยตะขอเกี่ยวหรือแบบกระเช้าเหมาะลำเลียงวนเป็นรอบเช่น ลักษณะงาน เตาอบ ห้องพ่นสี หรือเก็บสต็อกสินค้า ทำให้ประหยัดเนื้อที่ของโรงงาน 

-           Floor conveyor ระบบโซ่ลำเลียงแบบพื้นราบ ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยโซ่ลักษณะการลำเลียงจากลำเลียงชิ้นงานในแนวพื้นราบ  สามารถลำเลียงได้หลายลักษณะทั้งมีรูปร่างและน้ำหนักที่แตกต่างกันและสามารถกำหนดความเร็วในการลำเลียงได้

-           Power & Free conveyor ระบบโซ่ลำเลียงแบบแนวนอน ทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ขับเคลื่อนด้วยโซ่ลักษณะการลำเลียงจากลำเลียงชิ้นงานในแนวพื้นราบ กำหนดการหยุดของชิ้นงานได้ สามารถลำเลียงได้หลายลักษณะทั้งมีรูปร่างและน้ำหนักที่แตกต่างกันและสามารถกำหนดความเร็วในการลำเลียงได้

3.6 ระบบระบายอากาศ สำหรับงานพ่นสี

-        เป็นการออกแบบ ระบบท่อโลหะใช้สำหรับลำเลียง ฝุ่นสีไอร้อนจากเตาอบ หรือฝุ่นสี ส่วนเกิน มีทั้งมการใช้ ท่อเหล็กชุบสังกะสี,ท่อสแตนเลส,ท่อคาร์บอนสตีล โดยในการพ่นสี เนื้อสีบางส่วน จะไม่เกาะติดลงบนชิ้นงาน เนื้อสีที่ฟุ้งกระจายอยู่ในห้องพ่น จะถูกบำบัดโดยแรงดูดและกรองอากาศก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ
                     ตัวอย่าง  การแบ่งประเภทการออกแบบระบบพ่นสีอัตโนมัติ

1.     การพ่นสีแบบง่ายสำหรับการใช้งานระบบอัตโนมัติ



2.     การพ่นสีอัตโนมัติ แบบขั้นสูง

2.1 การประยุกต์ใช้งานในการส่งสี 2K ไปยังปืนพ่นสีอัตโนมัติที่ติดตั้งบนเครื่องพ่นสีแบบแนวนอน flatline


2.2 การประยุกต์ใช้งานในการส่งสีไปยังปืนพ่นสีสองอันที่ติดตั้งบน reciprocator


2.3 การใช้หัวเบล พ่นสีน้ำ


3. การพ่นสีระบบปั๊มแบบธรรมดา


4. การพ่นสีระบบปั๊มแบบขั้นสูง มีระบบไหลเวียนของสีในระบบ (Paint circulating system)



5. การพ่นสีระบบหุ่นยนต์ ธรรมดา