มารู้จัก รถปั๊มคอนกรีต ที่มีอยู่ในเมืองไทย กันครับ

28/06/2020 | 7879

มารู้จักรถปั๊มคอนกรีตที่มีอยู่ในเมืองไทยกันครับ

   ในวงการก่อสร้าง มีเครื่องจักร มากมายหลายชนิด ที่ทำให้การก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และปั๊มคอนกรีต ก็เป็นเครื่องจักรอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดเวลาในการเทคอนกรีต  เช่น เทพื้น เสา คาน ถนน หรือ ตึกที่มีความสูง ทั้งนี้การใช้งาน ขึ้นอยู่กับชนิดของปั๊มแต่ละประเภท  เราลองมาดูกันว่ามีอย่างไรบ้าง

1.jpg

   ปั๊มบูม(Boom Pump) ปั๊มประเภทนี้ ช่างบ้านเราเรียก ปั๊มงวง หรือ ปั๊มบูม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อส่ง จะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบ ให้สามารถพับ เก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งานเทคอนกรีตไปยังจุดที่ต้องการได้โดยตรง การเคลื่อนย้ายสามารถทำได้สะดวก และทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย  ในเมืองไทย มีตั้งแต่ความยาวบูม 18 ม.  21ม. 32ม. 36ม. 37ม. 38ม. 39ม. 40ม. 41ม. 42ม.และสูงสุดในปัจจุบัน คือ 43ม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งาน  เช่น ระยะความสูง และพื้นที่ในการกางขา โดยมีความเร็วในการปั๊มคอนกรีตตั้งแต่ 80 คิว/ชม. จนถึง 160 คิว/ชม

2.jpg

   ปั๊มลาก ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

   ประเภทที่ 1 Stationary  Trailer Pump ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานประเภทที่ ปั๊มบูมไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือจุดตั้งปั๊มห่างจากจุดเทคอนกรีตมาก รวมทั้งอาคารที่มีความสูง โดยตัวปั๊มและท่อส่ง จะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อนเมื่อต้องการใช้งาน  รถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไปหน้างานก่อสร้าง หลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊มเพื่อส่งคอนกรีตไปยังจุดที่ต้องการ ในเมืองไทยมีหลายขนาดปั๊ม สเปคมีตั้งแต่ปั๊มขึ้นแนวดิ่งได้ 100-300 กว่าเมตร แนวราบ ตั้งแต่ 200-600 กว่าเมตร หรือเกินกว่า 90 ชั้น โดยมีความเร็วในการปั๊มคอนกรีตตั้งแต่ 50 คิว/ชม ถึง 110 คิว/ชม. ข้อดีของปั๊มชนิดนี้คือ การใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก

3.jpg

   ประเภทที่ 2 Moli Pump/Line Pump ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ คือการนำเอาปั๊มลาก(Stationary Trailer Pump)มาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ 10ล้อหรือ12ล้อ  โดยมีลักษณะการใช้งานเหมือนStationary Trailer Pump แต่มีข้อดีกว่า คือมีพื้นที่ในการบรรทุกท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์ พร้อมทั้งสะดวกในการเดินทางไกล และการเคลื่อนย้ายปั๊ม ทำได้ง่ายกว่า ในประเทศไทย Moli Pump/Line Pump เป็นที่นิยมใช้กันมาก มีทั้งใช้เครื่องยนต์ของตัวรถในการขับปั๊มผ่านเกียร์ PTO  และเครื่องยนต์แยกต่างหากในการขับปั๊ม เพื่อที่จะได้มีแรงดันที่สูงมากขึ้นเหมาะกับการปั๊มคอนกรีตตึกสูง

    การต่อท่อนั้นจะมีอยู่  2  ลักษณะคือ ต่อท่อแนวราบกับแนวดิ่ง  (ท่อยาวท่อนละ  3  เมตร)

    การต่อท่อแนวราบ ปั๊มสามารถลำเลียงคอนกรีตได้สูงสุดคือ 1,000  เมตร ประเภทงานที่เหมาะสมคืองานอุโมงค์ งานเทคอนกรีตพื้นราบ หรือสถานที่รถปูนไม่สามารถเข้าไปเทคอนกรีตได้

    การต่อท่อแนวดิ่ง สามารถลำเลียงคอนกรีตขึ้นอาคารที่มีความสูงถึง  70  ชั้น  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของอาคารและศักยภาพของปั๊มคอนกรีตแต่ละคัน



บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1