การก่อสร้างโครงสร้างบ้านพักอาศัย โดยใช้รถปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงและเทคอนกรีต

11/06/2020 | 11858

การก่อสร้างโครงสร้างบ้านพักอาศัย โดยใช้รถปั๊มในการลำเลียงและเทคอนกรีต

   ขั้นตอนในการก่อสร้างโครงสร้างบ้านพักอาศัย โดยใช้รถปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงและเทคอนกรีต มีขั้นตอนดังนี้

    1. ปรับพื้นที่และทำคอกกั้นบริเวณ

    2.หาตำแหน่งจุดศูนย์กลางของเสา และตำแหน่งหลุมฐานราก

    3.ขุดหลุมฐานรากตามตำแหน่งที่วางไว้

    4.เทชั้นรองก้นหลุมฐานราก หนาประมาณ 5 เซนติเมตร

    5.รองตะแกรงฐานรากด้วยลูกปูน หนา 5 เซนติเมตร

    6.วางเหล็กตะแกรงฐานราก ใช้เหล็ก DB 12 มิลลิเมตร @ 0.20 เมตร

    7.ติดตั้งเหล็กแกนเสา ใช้เหล็ก DB 16 มิลลิเมตร จำนวน 4 เส้น

    8.ใส่เหล็กปลอกเสา ด้วยเหล็ก RB 6 มิลลิเมตร @ 0.20 เมตร

    9.ติดตั้งไม้ค้ำยันเหล็กแกนเสา

    10.ติดตั้งไม้แบบฐานราก พร้อมกับยัดแบบให้แน่น

    11.เทคอนกรีตฐานราก หนา 25 เซนติเมตร โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต

    12.ถอดแบบฐานราก

    13.ติดตั้งไม้แบบเสาตอม่อ

    14.ยึดไม้แบบให้แน่น พร้อมติดตั้งไม้ค้ำยันแบบเสาตอม่อ

    15.เทคอนกรีตเสาตอม่อ โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    16.ถอดแบบเสาต่อมอ

    17.ถมดินกลบหลุมฐานราก

    18.ติดตั้งเหล็กคานคอดิน

    19.ติดตั้งไม้แบบคานคอดิน

    20.ยัดแบบคานคอดินให้แน่น

    21.เทคอนกรีตคานคอดิน โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    22.ถอดแบบคานคอดิน

    23.ติดตั้งแบบเสาชั้นที่ 1

    24.ยึดแบบเสาให้แน่น พร้อมกับติดตั้งไม้ค้ำยันเสา

    25.เทคอนกรีตเสาชั้นที่ 1 โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    26.ถอดแบบและค้ำยันเสาชั้นที่ 1

    27.บดดันทรายหยาบหนา 30 เซนติเมตร เป็นชั้นรองพื้นคอนกรีต

    28.วางเหล็กตะแกรงพื้นชั้นที่ 1 ใช้เหล็ก RB 6 มิลลิเมตร @ 0.15 เมตร

    29.เทคอนกรีตพื้น หนา 10 เซนติเมตร โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    30.ติดตั้งค้ำยันสำหรับรองรับคานคอนกรีตชั้นที่ 2

    31.ติดตั้งไม้พื้นคานชั้นที่ 2

    32.ติดตั้งเหล็กคานชั้นที่ 2

    33.ติดตั้งไม้แบบคานชั้นที่ 2

    34.ยึดแบบคานให้แน่น

    35.เทคอนกรีตคานชั้นที่ 2 โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    36.ถอดแบบคานชั้นที่ 2

    37.ติดตั้งแบบเสาชั้นที่ 2

    38.ติดตั้งไม้ค้ำยันแบบเสา

    39.เทคอนกรีตเสาชั้นที่ 2 โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    40.ถอดแบบเสาและค้ำยันออก

    41.ถอดค้ำยันสำหรับรองรับคานคอนกรีตออก

    42.ติดตั้งค้ำยันแบบบันไดคอนกรีต

    43.ติดตั้งแบบบันไดคอนกรีต

    44.ติดตั้งเหล็กเสริมบันได DB 12 มิลลิเมตร @ 0.15 เมตร

    45.ติดตั้งแบบขั้นบันได

    46.เทคอนกรีตบันได โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    47.ถอดแบบบันได

    48.ติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จ

    49.เทคอนกรีตทับหน้า 5 เซนติเมตร โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    50.ติดตั้งค้ำยันแบบพื้นห้องน้ำ

    51.ติดตั้งไม้ยึดค้ำยัน พร้อมกับวางคร่าวรองแบบ

    52.วางแบบพื้น

    53.วางเหล็กตะแกรงพื้น RB 9 มิลลิเมตร @ 0.15 เมตร

    54.เหล็กเสริมพิเศษ RB 9 มิลลิเมตร @ 0.30 เมตร

    55.เทคอนกรีตพื้น หนา 10 เซนติเมตร โดยใช้รถปั๊มคอนกรีต ลำเลียงและเทคอนกรีต

    56.ติดตั้ง อะเสเหล็ก 2C-100 x 50 x 20 x 3.2 มิลลิเมตร

    57.ติดตั้งดั้งเหล็ก 2C-100 x 50 x 20 x 3.2 มิลลิเมตร

    58.ติดตั้งอกไก่เหล็ก 2C-100 x 50 x 20 x 3.2 มิลลิเมตร

    59.ติดตั้งตะเข้สันหลังคา

    60.ติดตั้งจันทันเหล็ก C100 x 50 x 20 x 3.2 มิลลิเมตร @ 1.00 เมตร

    61.ติดตั้งระแนงเหล็ก @ 0.30–0.33 เมตร

    62.ติดตั้งเชิงชายหลังคา

    63.ติดตั้งกระเบื้องโมเนีย เพื่อมุงหลังคาให้สวยงามแข็งแรง

     เมื่อเราใช้รถปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงและเทคอนกรีต ก็จะทำให้การก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัยสำเร็จอย่างรวดเร็ว ส่งมอบงานทันเวลาที่กำหนด ไม่ต้องสูญเสียค่าปรับจากการส่งมอบงานที่ล่าช้า หากไม่ได้ใช้รถปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงและเทคอนกรีต







บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1