การทำกันซึมผู้ใช้ต้องพิจารณาถึง งบประมาณ และข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีในการทำ
2. Cementious Waterproofing คือ กันซึม ชนิดมีปูนซิเมนต์เป็นวัสดุพื้นฐาน ใช้ทาหรือฉาบลงบนผิวคอนกรีต หรือผิวมอร์ต้า ผิวที่ทาจะเป็นชั้นผิวหน้าป้องกันการรั่วซึม แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
3. Crystallization Waterproofing มีทั้งชนิดน้ำและชนิดผง โดยใช้เติมลงไปในคอนกรีต หรือมอร์ต้า จากนั้นจะเกิดปฏิกริยาเคมี กับ free limeในเนื้อคอนกรีต ทำให้เกิดการตกผลึกคริสตัลในเนื้อคอนกรีต หรือ มอร์ต้า อุดช่องว่างรูพรุน และมีความทึบน้ำมากขึ้น สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ พื้นที่ที่เหมาะกับวัสดุประเภทนี้คือบริเวณชั้นใต้ดินเช่นผนังกั้นดินและพื้นชั้นใต้ดิน เมื่อเนื้อคอนกรีตมีความชื้นรั่วซึมแต่ไม่ควรใช้กับพื้นดาดฟ้าที่บริเวณใต้พื้นที่มีการตกแต่งภายใน เพราะว่าหากพื้นมีรอยแตกแล้วก่อนที่จะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นผลึกได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งในการก่อตัวเป็นผลึกทึบน้ำอาจทำให้มีน้ำรั่วลงสู่ชั้นล่างได้
4.1 ชนิดเป็นของเหลว หรือ Liquid Membrane ใช้ทาเพื่อสร้างชั้นฟิล์ม โดยความหนาที่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราการทา สามารถสร้างชี้นฟิล์มหนาบางได้ตามต้องการ และมีสีให้เลือกตามความต้องการ
4.2 ชนิดแผ่น หรือ Sheet Membrane แกนกลางเสริมแผ่นเสริมแรง ใช้ปูลงบนพื้นผิว มีทั้งแบบกาวติดในตัว หรือเป่าไฟเพื่อให้เนื้อกาว หรือเนื้อเมมเบรนละลายติดกับผิวงาน
การใช้เครื่องพ่นในระบบกันซึม แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ
เครื่องพ่นระบบนี้ พ่นกันซึมโดยการสร้างแรงดันในเนื้อแมททีเรียล และพ่นผ่านสายแรงดัน ไปที่หัวทิปปลายปืนจนเกิดการแตกตัวของแมททีเรียลเป็นละออง ข้อดีคือสามารถพ่นได้เร็วและได้พื้นที่มากแต่ ไม่สามารถพ่นได้กรณีที่แมททีเรียลไม่เป็นเนื้อเดียว แรงดันที่ได้จากการพ่น ทำให้ถึง 200-230 บาร์ ทำให้ละอองพ่นมีการแตกตัวเล็กมาก เช่น เครื่องพ่นรุ่น Graco Mark V ,เครื่องพ่นรุ่น Graco Mark X , เครื่องพ่นรุ่น EverSpray V เป็นต้น
2. ระบบ สกรูปั๊ม
เครื่องพ่นระบบนี้ พ่นโดยใช้การสร้างแรงดันจากชุด Rotor&Stator ซึ่งเป็นสกรูรีดแมททีเรียลผ่านยาง ทำให้เกิดแรงดัน โดยแรงดันที่ได้จะเป็นแรงดัน ตั้งแต่ 10-30 บาร์ และหากต้องการพ่นให้เกิดละอองฝอยต้องทำงานร่วมกับปั๊มลม ละอองพ่นที่ได้จะมีเม็ดใหญ่ เช่น เครื่องพ่น IMER Step120 ,IMER Small50 เป็นต้น
3. ระบบ Injection หรือ ไดอะแฟรมปั๊ม