มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้รถปั๊มคอนกรีต (Concrete Pump) เกิดปั๊มล้ม / ปั๊มทรุด

29/06/2020 | 17796

มีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้รถปั๊มคอนกรีต (Concrete Pump) เกิดปั๊มล้ม / ปั๊มทรุด

   รถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูม ถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรคอนกรีต ที่ใช้แขนปั๊มคอนกรีตที่มีท่อลำเลียงถูกติดตั้งอย่างถาวร ซึ่งตัวปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมนั้นจะถูกติดตั้งอยู่บนรถบรรทุกซึ่งจะมีน้ำหนักมาก โดยที่ตัวของรถบรรทุกที่ใช้บรรทุกตัวปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมนั้นมีขนาดตั้งแต่ รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ หรือรถบรรทุกขนาด 12 ล้อ รถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมมีหลากหลายขนาด โดยที่รถปั๊มคอนกรีตนั้นมีท่อลำเลียงติดตั้งอยู่กับแขนบูมที่สามารถพับเก็บได้ ประกอบอยู่ด้านบนของตัวรถบรรทุก ซึ่งสามารถลำเลียงคอนกรีตได้ทันที โดยการทำงานนั้นจะต้องกางขาออกเพื่อรองรับน้ำหนักของตัวรถปั๊มคอนกรีต และกางแขนของปั๊มบูมออก จะถูกควบคุมโดยการใช้งานรีโมทคอนโทรลสำหรับบังคับการทำงานของรถปั๊มคอนกรีต เพื่อลำเลียงคอนกรีตไปในจุดที่ต้องการเท และหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น มักจะนำมาซึ่งความเสียหายที่ร้ายแรง ทั้งต่อหน้างานและต่อตัวรถปั๊มคอนกรีตเอง โดยส่วนมากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในการทำงานของรถปั๊มคอนกรีต อันดับต้นๆ เลยเห็นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ตัวปั๊มล้ม หรือขาปั๊มทรุด ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ตัวรถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมไปกระแทกกับแบบที่หน้างานของลูกค้า จนทำให้แบบที่หน้างานได้รับความเสียหาย หรือตัวปั๊มบูมไปกระแทกโดนตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ที่ปฏิบัติงานจนได้รับบาดเจ็บสาหัส หรืออาจจะถึงแก่ชีวิตได้

    สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับรถปั๊มคอนกรีต เกิดปั๊มล้ม หรือปั๊มทรุด มีดังนี้

  1. การกางขารถปั๊มคอนกรีต โดยไม่มีแผ่นเหล็ก,ไม้ หรือแผ่นรองขา       

  2. อุปกรณ์การรองขาไม่มั่นคงและไม่แข็งแรง

  3. การวางขาของรถปั๊มคอนกรีตบนพื้นที่ ที่ไม่เรียบ หรือมีโพรงใต้ดิน, เปียกแฉะ หรือมีหลุมบ่อใต้ดิน

  4. การตั้งขารถปั๊มคอนกรีตใกล้ขอบบ่อ หรือบริเวณที่ดินสไลด์ ทรุดหรือยุบตัวได้ง่าย

  5. การตั้งขารถปั๊มคอนกรีต โดยการกางขาปั๊มไม่สุด

  6. ทำการย้ายตำแหน่งรถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมโดยไม่เอาแขนบูมลง

  7. สิ่งกีดขวางข้างบน โครงหลังคา นั่งร้านโดยเฉพาะสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์

 ดังนั้น ในการตั้งรถปั๊มคอนกรีตควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องดังกล่าวข้างต้นแล้ว เรื่องความปลอดภัยขณะปฎิบัติงาน ก็ต้องระมัดระวังในการใช้งานมากขึ้น ควรใช้งานรถปั๊มคอนกรีตให้ถูกวิธี เพราะปั๊มบูมของรถปั๊มคอนกรีตมีการสวิงตัวเคลื่อนไหวตลอด ใช้ไปนานๆอาจทำให้บูมเกิดรอยร้าวสะสม และอาจจะหักลงมาได้ โดยเฉพาะปั๊มบูมมีน้ำหนักมาก ถ้าเกิดไปโดนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานหรือคน มักจะได้รับบาดเจ็บสาหัส หรืออาจจะถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นในการทำงานจึงไม่ควรยืนอยู่ในบริเวณใต้แขนปั๊มบูมขณะที่เทคอนกรีต หรือไม่ควรเดินลอดใต้แขนปั๊มบูมเด็ดขาด เพราะอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

   ข้อดีของการใช้รถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมในการเทคอนกรีต มีดังนี้

    1. มีการจัดส่งคอนกรีตที่สม่ำเสมอต่อเนื่องขึ้นไปในแบบของหน้างาน

    2. ทำงานได้รวดเร็ว ประหยัดแรงงานในการเทคอนกรีต
 
    3. ลดระยะเวลาในการเทคอนกรีตลง

    4. สามารถลำเลียงคอนกรีตได้ทันทีโดยไม่ต้องต่อท่อ

   5.เหมาะสำหรับงานที่มีจุดเทคอนกรีตหลายตำแหน่ง หรือในบริเวณที่มีแบบสำหรับเทคอนกรีตแคบๆ เช่น งานเทเสา งานเทคาน เป็นต้น
การเลือกใช้ขนาดความยาวของรถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของหน่วยงานนั้นๆ และความต้องการของลูกค้า ซึ่งว่าจะใช้รถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูมขนาดไหน ซึ่งรถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูม ก็จะมีขนาดความยาวของตัวแขนปั๊มบูมหลายขนาด เช่น ปั๊มบูม 21 เมตร, ปั๊มบูม 32 เมตร, ปั๊มบูม 37 เมตร, ปั๊มบูม 40 เมตร, ปั๊มบูม 42 เมตร และ ปั๊มบูม 43 เมตร เป็นต้น




บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1