การใช้เครื่องพ่นในระบบกันซึม

06/05/2020 | 6819

การใช้เครื่องพ่นในระบบกันซึม


    การทำระบบกันซึม ปัจจุบันมีหลากหลายวิธีการและมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โดย การทำงานระบบกันซึม มีการทำงาน ได้ 4 วิธี คือ

      1. การผสมสารเคมีเข้าไปในเนื้อคอนกรีต หรือเนื้อมอร์ต้า ให้เกิดการกันซึม

      2. กันซึมประเภท ทา เคลือบ พ่น ฉาบ ลงบนพื้นผิว ให้เป็นชั้นกันซึม

      3. กันซึมประเภทแผ่นสำเร็จรูปปูเคลือบลงบนพื้นผิว ให้เป็นชั้นกันซึม

    การทำกันซึมผู้ใช้ต้องพิจารณาถึง งบประมาณ และข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธีในการทำ

      1.  Admixture Waterproofing  คือ กันซึม ชนิดสารเติมกับคอนกรีตหรือมอร์ต้า ทำให้เกิดการมีคุณสมบัติกันซึม ใช้ผสมลงไประหว่างการผสมคอนกรีต หรือระหว่างการผสมมอร์ต้า มีผู้ผลิตหลายรายให้เลือก เช่น

       2.  Cementious Waterproofing คือ กันซึม ชนิดมีปูนซิเมนต์เป็นวัสดุพื้นฐาน ใช้ทาหรือฉาบลงบนผิวคอนกรีต หรือผิวมอร์ต้า ผิวที่ทาจะเป็นชั้นผิวหน้าป้องกันการรั่วซึม แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ


         2.1 ชนิดส่วนผสมเดี่ยว จะเป็น ผงซิเมนต์กันซึม นำมาผสนกับน้ำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตกำหนด เมื่อทาผิวจะได้ผิวหน้ากันซึมที่แข็ง มีราคาประหยัด แต่ไม่มีความยืดหยุ่น

         2.2 ชนิด 2 ส่วนผสม จะเป็น ผงซิเมนต์กันซึม และน้ำยากันซึมพร้อมเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้ผิวที่ได้สามารถยืดหยุ่นได้

     3.  Crystallization Waterproofing มีทั้งชนิดน้ำและชนิดผง โดยใช้เติมลงไปในคอนกรีต หรือมอร์ต้า จากนั้นจะเกิดปฏิกริยาเคมี กับ free limeในเนื้อคอนกรีต ทำให้เกิดการตกผลึกคริสตัลในเนื้อคอนกรีต หรือ มอร์ต้า อุดช่องว่างรูพรุน และมีความทึบน้ำมากขึ้น สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ พื้นที่ที่เหมาะกับวัสดุประเภทนี้คือบริเวณชั้นใต้ดินเช่นผนังกั้นดินและพื้นชั้นใต้ดิน เมื่อเนื้อคอนกรีตมีความชื้นรั่วซึมแต่ไม่ควรใช้กับพื้นดาดฟ้าที่บริเวณใต้พื้นที่มีการตกแต่งภายใน เพราะว่าหากพื้นมีรอยแตกแล้วก่อนที่จะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นผลึกได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งในการก่อตัวเป็นผลึกทึบน้ำอาจทำให้มีน้ำรั่วลงสู่ชั้นล่างได้

     4.  Membrane Waterproofing เป็นสารประกอบ Bituminous ,HDPE ,PVC มี 2 ชนิด ได้แก่        

        4.1 ชนิดเป็นของเหลว หรือ Liquid Membrane ใช้ทาเพื่อสร้างชั้นฟิล์ม โดยความหนาที่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราการทา สามารถสร้างชี้นฟิล์มหนาบางได้ตามต้องการ และมีสีให้เลือกตามความต้องการ      

         4.2 ชนิดแผ่น หรือ Sheet Membrane แกนกลางเสริมแผ่นเสริมแรง ใช้ปูลงบนพื้นผิว มีทั้งแบบกาวติดในตัว หรือเป่าไฟเพื่อให้เนื้อกาว หรือเนื้อเมมเบรนละลายติดกับผิวงาน

     5.  Polyurethane Membrane เป็นโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง Isocyanate + polyol (หรือที่เรียกว่าPart A+ B) ผสมแบบ 1:1 ส่วน กลายเป็น Polyurethane Foam จากนั้นนำมาฉีดและรอแห้งเพื่อเคลือบพื้นผิวดาดฟ้า การกันซึมขึ้นอยู่กับความหนาของ PU โดยปกติจะทำหนา 1-10 มม. พื้นที่ๆเหมาะกับวัสดุ ประเภทนี้คือพื้นดาดฟ้าระเบียงที่ไม่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลาโดยตัวคุณสมบัติของ PU จะทนความร้อนได้ดีและสามารถทาสีอะคริลิคหรือสีสะท้อนแสงทับได้ เพื่อสะท้อนรังสียูวี

     6.  Acrylic Membrane วัสดุกันซึมประเภทอะคริลิค พื้นที่ที่เหมาะกับวัสดุประเภทนี้ได้แก่ ชั้นดาดฟ้าระเบียงพื้นต่างๆที่ไม่มีน้ำขัง และหากเสริม Fiberglass ก็จะทำให้มีความหนาเพิ่มมากขึ้นนอกจากจะกันรั่วซึมได้แล้วยังสามารถลดความร้อนลงสู่พื้นชั้นล่างได้ในระดับหนึ่ง ข้อดีของวัสดุประเภทนี้คือใช้งานง่าย


     7.  Polyester ,Polymer Membrane ใช้ทาหรือพ่น สารประกอบโพลีเอสเตอร์ โพลีเมอร์ แทรกซึมเข้าไปในเนื้อให้ทั่วพื้นผิวบริเวณที่ทำกันซึม

    การใช้เครื่องพ่นในระบบกันซึม แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ

      1. ระบบ Airless Spray

   เครื่องพ่นระบบนี้ พ่นกันซึมโดยการสร้างแรงดันในเนื้อแมททีเรียล และพ่นผ่านสายแรงดัน ไปที่หัวทิปปลายปืนจนเกิดการแตกตัวของแมททีเรียลเป็นละออง ข้อดีคือสามารถพ่นได้เร็วและได้พื้นที่มากแต่ ไม่สามารถพ่นได้กรณีที่แมททีเรียลไม่เป็นเนื้อเดียว แรงดันที่ได้จากการพ่น ทำให้ถึง 200-230 บาร์ ทำให้ละอองพ่นมีการแตกตัวเล็กมาก เช่น เครื่องพ่นรุ่น Graco Mark V ,เครื่องพ่นรุ่น Graco Mark X , เครื่องพ่นรุ่น EverSpray V เป็นต้น

     2. ระบบ สกรูปั๊ม

   เครื่องพ่นระบบนี้ พ่นโดยใช้การสร้างแรงดันจากชุด Rotor&Stator ซึ่งเป็นสกรูรีดแมททีเรียลผ่านยาง ทำให้เกิดแรงดัน โดยแรงดันที่ได้จะเป็นแรงดัน ตั้งแต่ 10-30 บาร์ และหากต้องการพ่นให้เกิดละอองฝอยต้องทำงานร่วมกับปั๊มลม ละอองพ่นที่ได้จะมีเม็ดใหญ่ เช่น เครื่องพ่น IMER Step120 ,IMER Small50 เป็นต้น

    3. ระบบ Injection หรือ ไดอะแฟรมปั๊ม

   การทำกันซึมโดยต้องการอัดแมททีเรียลเข้าไปยังช่องรอยแตก ในพื้นหรือผนังต้องการ เครื่องพ่นที่ดันแมททีเรียลเข้าไปในช่องแคบๆ ผ่านหัว Packing โดยต้องการดันด้วยแรงดันต่ำไปจนถึงสูงแต่มีแรงดันคงที่ เช่น เครื่องพ่น WAGNER SF23i