สถานการณ์ฉุกเฉินที่จะกลายเป็นเรื่องปกติ?

30/09/2022 | 1312

 

สถานการณ์ฉุกเฉินที่จะกลายเป็นเรื่องปกติ?

1) สถานการณ์ของตารางเดินเรือและระยะเวลาในการขนส่งทางเรือ ชีวิตวิถีใหม่ในการนำเข้า-ส่งออก กับคำว่า Delay และ Blank Sailing!!!

ทางด้านสถานการณ์ของตารางเดินเรือและระยะเวลาในการขนส่งทางเรือ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ในหลายเส้นทางการขนส่งยังคงอยู่ในภาวะที่ไม่มีความนิ่งหรือความเสถียรอย่างที่ควรจะเป็น

รวมถึงอีกหนึ่งสถานการณ์ที่เราเริ่มเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น นั่นคือ การที่หลายสายการเดินเรือมีการปล่อยตารางเรือว่าง หรือ Blank Sailing กันถี่ขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งในบางเส้นทางการขนส่ง รอบเรือในการให้บริการยิ่งห่างและไกลกันมากขึ้น

ทั้งนี้ก็เนื่องจากปัจจัยปัญหาหลักๆ คือ การที่เรือสินค้าจำนวนมาก ไปติดและรอเทียบท่ากันตามท่าเรือหลักที่ประสบกับปัญหาความหนาแน่น จึงทำให้เรือเหล่านี้ไม่สามารถวยกลับมาเข้ารอบเรือของตนเองได้ตามกำหนด

อย่างเช่น เส้นทางการขนส่งไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในสัปดาห์ที่ 40 ทั้ง Pacific Northwest/ Pacific Southwest/ US East Coast มีพื้นที่ระวางขนส่งหายไปจากท้องน้ำถึง กว่า 200,000 TEU จากการที่ทุกสายการเดินเรือมีการประกาศตารางเรือว่าง

2) ทางด้านประเด็นสถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าหรือค่าเฟรท ช่องว่างระหว่าง Service Contract กับ SPOT Market Rate ยิ่งกว้างขึ้นทุกที

ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นการปรับลดลงถึง ร้อยละ 57 เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ โดยในช่วงระยะเวลา 12 -14 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ราคาค่าระวางขนส่งทางเรือ มีการปรับตัวลดลงถึง ร้อยละ 46 !!!

3) สุดท้ายในด้านสถานการณ์ความหนาแน่นของท่าเรือหลักทั่วโลก หลายท่าเริ่มซา แต่อีกหลายท่ายังสาหัส!!!

หลายท่าเรือเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น มีการทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น จำนวนตู้สินค้าในท่าและจำนวนเรือที่รอเทียบท่า เริ่มเบาบางและลดลงอย่างเห็นได้ชัด

หากแต่ยังมีอีกหลายท่าเรือ ยังคงอยู่ในภาวะคอขวด สาหัสและหืดขึ้นคอ เพียบแน่นไปด้วยจำนวนตู้สินค้าและปริมาณเรือสินค้าที่ถอดสมอรอเทียบท่าอยู่นอกชายฝั่ง โดยมีสาเหตุมาจากปัญหาในการขาดแคลนในภาคแรงงานขนส่งและจากภาวะการนัดหยุดงาน รวมถึงปัญหาจากภัยธรรมชาติในหน้ามรสุม

ท่าเรือหลักในฝั่งตะวันออก USEC (New York/ Charleston/ Savannah/ Miami) มีจำนวนเรือรอเทียบท่าประมาณ 95-100 ลำ. โดยเรือสินค้าใช้เวลารอเข้าเทียบ รวมถึงใช้เวลาในการปฏิบัติงานขนถ่ายที่ท่า อยู่ที่ 5-14 วัน. (โดยเฉพาะที่ Savannah มีเรือที่รอเทียบและที่เทียบแล้วกว่า 30 ลำ โดยเรือใช้เวลารอเข้าเทียบรวมถึงใช้เวลาในการปฏิบัติงานขนถ่ายอยู่ที่ 15-20 วัน).( เฉพาะที่ USNYC มีจำนวนเรือสินค้ารอประมาณ 20 ลำ และใช้เวลารอ 14-20 วัน).

ด้านท่าเรือหลักฝั่งตะวันตก USWC (Seattle/ Tacoma/ Oakland ) ยังคงที่อยู่ในภาวะคงที่ โดยมีเรือรอเข้าเทียบและเทียบที่ท่าแล้วประมาณ 40 ลำ. และใช้เวลารอเข้าเทียบท่ารวมถึงเวลาในการขนถ่ายอยู่ที่ 5-10 วัน (เฉพาะที่ Oakland ใช้เวลารอเทียบประมาณ 12-20 วัน). ในขณะที่ท่าเรือฝั่งอ่าวหรือ Gulf port MID West อย่าง USHOU อยู่ในภาวะคงที่และทรงตัว โดยมีจำนวนเรือตู้สินค้าทั้งที่เข้าเทียบแล้วและที่รอเข้าเทียบขนถ่าย ประมาณ 75-80 ลำ โดยใช้เวลารอเทียบอยู่ที่ 14-20 วัน

สองท่าเรือที่เป็นประตูหลักของสหรัฐอเมริกา อย่าง (Los Angel/ Long Beach) อยู่ในภาวะที่เริ่มผ่อนคลาย จากการที่ผู้ประกอบการ ย้ายสินค้าหนีข้ามไปขึ้นฝั่งที่ท่าเรือด้านตะวันออก โดยมีเรือรอเข้าเทียบท่าอยู่ในรัศมี 25 ไมล์ทะเลประมาณ 40 ลำ และใช้เวลารอเทียบท่าอยู่ที่ 5 -10 วัน และตู้สินค้าที่ต้องขึ้นรางต่อ ใช้เวลารอ 15 -20 วัน

ในส่วนของท่าเรือหลักในภูมิภาคยุโรป อย่าง Rotterdam/ Hamburg/ Antwerp เริ่มที่อยู่ในภาวะคงที่และสามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยจำนวนตู้สินค้าและจำนวนเรือที่รอเทียบมีแนวโน้มลดลง ภาพรวมทั้งสามท่าเรือ มีจำนวนเรือสินค้าที่รอเข้าเทียบท่าอยู่รวมกันเกือบ 800 ลำ ซึ่งแค่เฉพาะที่ Rotterdam มีเรือเทียบท่าขนถ่ายแล้วและที่รอเทียบประมาณ 380-400 ลำ

สุดท้าย สถานการณ์ของท่าเรือหลักต่างๆภายในภูมิภาคเอเชีย หลายท่าเรือจะยังคงได้รับผลกระทบจากพายุและความแปรปรวนของสภาพอากาศในช่วงหน้ามรสุม ทำให้ท่าเรือหลักๆ หลายท่ามีเรือสินค้าสะสมบริเวณท่าเป็นจำนวนมาก

โดยท่าเรือหลักฝั่งตะวันออกของประเทศจีน มีเรือสินค้าสะสมรอเทียบท่าเพิ่มขึ้น ในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน อย่าง Shanghai กลับมามีจำนวนเรือสินค้าสะสมที่ท่าและบริเวณโดยรอบ เกือบ 6,000 ลำ ส่วนทางด้าน Ningbo เริ่มกลับมาหนาแน่นเช่นกัน โดยมีเรือสินค้าที่รอเทียบท่าขนถ่าย ซึ่งมีจำนวนเกือบ 1,000 ลำ

ขณะที่ทางด้านท่าเรือหลักของจีนตอนล่าง อย่าง Hong Kong/ Shekou/ Yantian อยู่ในภาวะทรงตัว หากแต่ติดขัดปัญหาการไหลเวียนของตู้สินค้าและเรือสินค้า อันเนื่องจากการล็อคดาวน์ในบางเขตของเมือง Shenzhen และการจำกัดปริมาณรถขนส่งที่ข้ามพรมแดนระหว่าง Hong Kong

 

CR :       PIC by Nbfreeh

            ZUPPORT Team

            Facebook: นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า