ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานรถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไป สู่หน้างานก่อสร้างหลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก
ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ บ้านเราเรียกว่า ปั๊มลากหรือปั๊มท่อ คือการนำเอาปั๊มลากมาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ โดยมีจุดบรรทุกไว้วางท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง การลำเลียงคอนกรีตนั้นจะต้อง มีการต่อท่อเหล็ก (เตรียมพร้อมไปกับรถปั๊ม) เพื่อไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะเทคอนกรีตซึ่งการต่อท่อนั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ต่อท่อแนวราบกับแนวดิ่ง (ท่อยาวท่อนละ 3 เมตร)
การต่อท่อแนวราบ
ปั๊มสามารถลำเลียงคอนกรีตได้สูงสุดคือ 1,000 เมตร ประเภทงานที่เหมาะสมคืองานอาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม หรือหน่วยงานที่มีการเข้าออกคับแคบที่รถโม่ไม่สามารถเข้าถึงจุดเทได้ เป็นต้น ซึ่งปั๊มโมลี
การต่อท่อแนวดิ่ง
สามารถลำเลียงคอนกรีตขึ้นอาคารที่มีความสูงถึง 70 ชั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของอาคารและศักยภาพของปั๊มคอนกรีต
คอนกรีตที่ใช้ในการลำเลียง
โดยปั๊มคอนกรีต ต้องเป็นคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัด (STRENGTH) 240 Ksc.CU ขึ้นไปและต้องมีค่ายุบตัว (SLUMP) 10+2.5 เซนติเมตร
พื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งปั๊มคอนกรีต
ต้องเป็นพื้นที่ราบและมีความแข็งแรงรับน้ำหนักโดยไม่มีการยุบตัวของดิน ความกว้างอย่างน้อย 3 x 10 เมตรและความสูงต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร
ประสิทธิภาพในการลำเลียงคอนกรีต
สูงสุดอยู่ที่ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้ประสิทธิภาพของการลำเลียงขึ้นอยู่กับความสูง ของตัว อาคารหรือความยาวของท่อที่ต่อไปยังจุดเทคอนกรีต
อัตราค่าบริการของปั๊มโมลี ขึ้นอยู่กับจำนวนคอนกรีตที่จะลำเลียง สำหรับแต่ละหน่วยงานหรือ ความสูงของตัวอาคารหรือจำนวนของการ ต่อท่อ
ปั๊มประเภทนี้ ช่างบ้านเราเรียกปั๊มงวงหรือปั๊มบูม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อ ส่ง จะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก และทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีตจะถูกจำกัดโดยความยาวของบูม ตามขนาดต่าง ๆ การทำงานนั้นจะต้องกางขาออกเพื่อรองรับ น้ำหนัก และกางแขนบูมออกโดยจะใช้รีโมทคอนโทรลบังคับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ประเภทงานที่เหมาะสมคือ
งานเทคอนกรีตพื้นที่ กว้างๆ หรืออาคารที่มีความสูงประมาณ 7 ชั้น
คอนกรีตที่ใช้ในการยิงปั๊ม
ต้องเป็นคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัด (STRENGTH) 240 Ksc.CU ขึ้นไป และคอนกรีตต้องมีค่ายุบตัว (SLUMP) มาตรฐานที่ 10+2.5 เซนติเมตร
พื้นที่ในการติดตั้งปั๊มบูม
จะต้องเป็นพื้นที่ราบและไม่มีีการยุบตัวของดิน มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 x 10 เมตร และต้องไม่มีสิ่งกีด ขวางในแนวดิ่ง เช่น สายไฟหรือกิ่งไม้ใหญ่ เป็นต้น
ประสิทธิภาพในการลำเลียงคอนกรีต
สูงสุด 60 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ทั้งนี้ความเร็วในการลำเลียงคอนกรีตขึ้นอยู่กับสภาพหน้างานหรือคุณภาพของคอนกรีตหรือการจัดส่งคอนกรีตไปยังหน่วยงาน
ราคาค่าบริการปั๊มบูมนั้นขึ้นอยู่กับ ประเภทของปั๊มบูม จำนวนคอนกรีตที่จะลำเลียงสำหรับแต่ละหน่วยงานหรือความสูงของตัวอาคาร
ส่วนผสมของ คอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต เราจะมาพิจารณาส่วนผสมของคอนกรีตที่ เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต
ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิน, ทราย, ซีเมนต์,และส่วนที่เป็นของเหลวคือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมที่กล่าวนี้ น้ำเป็นส่วนผสมเดียวที่สามารถปั๊มได้ แต่เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสม ถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสมอื่น ๆ
ต้องมีความเหลวที่เหมาะสม คอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับนำไปปั๊ม ควรจะมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 7.5-12.5 ซม. ถ้าค่า ยุบตัวน้อยเกินไปคอนกรีตจะปั๊มยาก และต้องใช้แรงดันสูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียคือท่อสึกหรอเร็ว และปั๊มเสียได้ง่าย ถ้าค่ายุบตัวมากเกินไป คอนกรีตมีแนวโน้มที่จะเกิดการแยกตัว
ต้องมีปริมาณส่วนละเอียดเพียงพอ ส่วนละเอียดในที่นี้หมายถึง ทรายและปูนซีเมนต์ จะต้องมีมากพอที่จะไปอุดช่องว่าง ระหว่างหิน เพื่อให้เนื้อคอนกรีตมีแรงต้านภายในพอที่จะไม่ก่อให้เกิดการแยกตัว
ในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตทั่ว ๆ ไป เราจะพิจารณาเพียงให้ได้ค่ากำลังอัด ค่ายุบตัวตามต้องการ และสามารถทำงานได้เท่านั้น แต่การออกแบบส่วนผสมคอนกรีตในงานปั๊มคอนกรีตนั้น ต้องแบบให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านท่อส่งคอนกรีตได้ง่าย โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะต้องพิจารณาถึง ดังนี้