ลดการใช้แรงงานคนด้วยรถปั๊มคอนกรีต

02/11/2021 | 1912

ลดการใช้แรงงานคนด้วยรถปั๊มคอนกรีต


คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างที่นิยมใช้ในงานก่อสร้าง มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ซีเมนต์ น้ำ และวัสดุผสมต่างๆ เช่น หิน กรวด ทราย และอาจจะเพิ่มสารเคมีต่างๆเข้าไปด้วย เพื่อนำเอาคอนกรีตไปใช้ตามคอมเหมาะสม เมื่อผสม ซีเมนต์ กับ น้ำหรือ วัสดุได้ที่แล้วซีเมนต์จะแข็งตัวอย่างช้าๆ แล้วถึงกลายมาเป็นคอนกรีต ส่วนใหญ่จะใช้คอนกรีตในงานก่อ สร้างอาคาร ถนน เขื่อน สะพาน และงานก่อสร้างต่างๆที่เห็นได้ทั่วไป

ประเภทของคอนกรีต แบ่งได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ 
1. คอนกรีตล้วน 
เป็นแท่งคอนกรีตล้วนๆ ไม่วัสดุผสม เหมาะกับโครงสร้างรับแรงอัด  ได้แก่ กำแพงกั้นดินแบบถ่วงน้ำหนัก
2. คอนกรีตเสริมเหล็ก
เป็นคอนกรีตที่มีเหล็กเสริม หรือใช้คอนกรีตร่วมกับเหล็กเพื่อเสริมแรงดึง เช่นก่อสร้าง เสา , คาน เป็นต้น
3. คอนกรีตอัดแรง
เป็นโครงสร้างคอนกรีตที่ใช้เทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงสูง และถ่ายแรงค้างไว้ในเนื้อคอนกรีตเป็นกระบวนการเสริมแรงให้อาคารคอนกรีตรับน้ำหนักได้สูงมากขึ้น โดยการดึงเหล็กให้ยืดออกแล้วตัดเหล็ก ปล่อยให้เหล็กหกตัวกลับแล้วอัดคอรกรีต ใช้กับงานท่อน้ำ ถังน้ำ สะพาน ระบบพื้น ทำได้ 2 วิธี คือ วิธีดึงก่อน และ ดึงที่หลัง
4. คอนกรีตเบา มีความหนาแน่นน้อยกว่าคอนกรีตทั่วไป โดยใช้ผงด่างโลหะกับน้ำ ทำให้เกิดปฏิกิริยา และเกิดฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต ทำให้คอนกรีตเบาขึ้น วิธีนี้จะช่วยลดต้นทุน
5. คอนกรีตสำเร็จรูป 
คอนกรีตที่ผลิตตามแบบสำเร็จจากโรงงาน สามารถนำไปใช้งานได้ทันที เช่น เสาสำเร็จรูป  ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้นสำเร็จรูป เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตจากรถคอนกรีต เข้าไปเทคอนกรีตในตำแหน่งที่ต้องการ โดยเข้ามาทดแทน แรงงานคน,รถเข็น ,ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ รถปั๊มคอนกรีตยังสามารถตอบสนองความความต้องการเทคอนกรีตในสถานที่สูง หรือตอก ซอยแคบ หรือที่ยากต่อการเทคอนกรีตด้วยวิธีอื่น  รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย ทำให้ลดการใช้แรงงาน ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย   

รถปั๊มคอนกรีต ในประเทศไทยเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ. 2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย ในปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) 7 เครื่องที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (STATIONARY CONCRETE PUMP) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา ปั๊มคอนกรีตได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น
1. ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
2. มีการนำน้ำยาผสมคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นใน การใช้ปั๊ม
3. มีผู้ชำนาญในการใช้ปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
4. ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
5. อัตราค่าแรงสูงมากขึ้นรวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น

ประเภทของรถปั๊มคอนกรีต
ปั๊มลาก (Trailer Pump)

ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานรถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไปสู่หน้างานก่อสร้างหลังจากนั้น จะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก

ปั๊มโมลี / ไลน์ปั๊ม (Moli Pump / Line Pump)


ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ คือการนำเอาปั๊มลากมาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ โดยมีจุดบรรทุกไว้วางท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง

ปั๊มบูม (Boom Pump)


ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อส่ง จะถูก ติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก และทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีต จะถูกจำกัดโดยความยาวของบูม ตามขนาดต่าง ๆ

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้ ปั๊มคอนกรีต มีดังนี้

1.ขาดแคลนแรงงาน

2.มีเวลาจำกัดในการก่อสร้าง

3.การเทคอนกรีตจำนวนมาก

4.สถานที่เทคนอกรีต ยากต่อการลำเลียงคอนกรีต

เปรียบเทียบการใช้คอนกรีตปั๊มกับการใช้คนงาน

ปั้มคอนกรีต        สามารถเทได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา และมีปริมาณมากกว่า ประหยัดแรงงาน 

                         สิ้นเปลืองคอนกรีตน้อย ขนส่งคอนกรีตได้ทีละเยอะๆ

                         เทได้ทุกจุดของโครงสร้าง

คนงาน              เทได้ช้าและปริมาณน้อย เปลืองคนงานมาก และควบคุมยาก

                        สิ้นเปลืองคอนกรีตมากกว่า เวลาขนส่งมีการหกเสมอ

                        เทได้บางจุดของโครงสร้างเทลำบาก โดนเฉพาะที่สูงๆ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้คอนกรีตปั๊ม

1. ความรวดเร็วในการเทคอนกรีต ผู้รับเหมาสามารถเลือกขนาดและจำนวนปั๊มให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้2. ความสะดวกในการเท สามารถว่างตัวปั๊มไว้บริเวณที่จะเทคอนกรีตผสมเสร็จเข้าได้สะดวกและต่อท่อไปยังบริเวณที่จะเทคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวก

2. การตกแต่งผิวคอนกรีตจะสิ้นเปลืองน้อย เนื่องจากคอนกรีต ที่สามารถใช้ได้กับคอนกรีตปั๊มนั้น มีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง ทำให้ผิวคอนกรีตเรียบ และไม่สิ้นเปลืองในการฉาบผิวหน้าหลังจากถอดแบบแล้ว

3. ค่าแรงในการเทจะน้อยลง เนื่องจากการเทคอนกรีตด้วยรถปั๊มคอนกรีต จะใช้คนน้อยกว่าการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่นๆ และยังสามารถเทได้ในเวลาที่รวดเร็ว เป็นผลทำให้ค่าแรงงานน้อยลงอีกด้วย

4. คุณภาพของคอนกรีตในโครงสร้างดี ซึ่งเป็นผลมาจากคอนกรีตที่เทในแบบมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอและรวดเร็ว

5. ประหยังค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะลดลงงานเสร็จไวขึ้น เนื่องจากการทำงานที่รวดเร็วของคอนกรีตปั๊ม ทำให้ลดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเสียลง สามารถรับงานได้มากขึ้นในขณะเดียวกัน

การใช้ปั๊มคอนกรีต ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เนื่องจากรถปั๊มคอนกรีตทำงานได้รวดเร็วทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ทำให้ผู้รับเหมาได้ค่าแรงเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายๆอื่นที่ต้องจ่ายเพิ่ม เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน

ค่าแรงจะน้อยลง เนื่องจากการเทคอนกรีตโดยใช้รถปั๊มคอนกรีตใช้แรงงานน้อยกว่าวิธีอื่นๆและคุณภาพคอนกรีตสม่ำเสมอมากกว่าการใช้แรงงานคนงาน