เลือกรองเท้า SAFETY อย่างไร ให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

04/03/2020 | 1942

เลือกรองเท้า SAFETY อย่างไร ให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย

การเลือกรองเท้าเซฟตี้มีความสำคัญต่อการยืดอายุการใช้งานอย่างมาก ทั้งเรื่องดีไซน์ น้ำหนัก วัสดุ รวมไปถึงความสวยงามก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน

ควรเริ่มจากการทำการประเมินความเสี่ยงของพนักงานที่สวมใส่รองเท้ากับสภาพแวดล้อมของการทำงาน ว่าแบบไหนที่จะเหมาะสม เพื่อที่จะเลือกกำจัดหรือป้องกันอันตรายจากการทำงาน ซึ่งจะต้องทราบลักษณะงานหรือ สถานที่ทำงานอย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ทราบระดับของการป้องกัน และสามารถเลือกใช้รองเท้า safety ได้อย่างเหมาะสมที่สุด

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ แรงกระแทกตรงหัวรองเท้านิรภัยที่ต้องใช้ โดยปกติทั่วไปมีทั้งขนาด 100-200 จูล และจำเป็นหรือไม่ว่าต้องมีแผ่นเหล็กรองตรงกลางของพื้นรองเท้า safety หรือไม่ เพื่อป้องกันการเจาะทะลุจากการเหยียบตะปู นอกจากนั้นส่วนที่ต้องการป้องกันเพิ่มเติม เช่น ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์, ป้องกันความร้อน, ป้องกันความเย็นและความชื้น, ป้องกันน้ำ, ป้องกันการลื่นน้ำมันหรือน้ำมันกัดรองเท้าเซฟตี้หรือไม่, ป้องกันสารเคมี และอื่นๆ

มาตรฐานรองเท้านิรภัยยุโรป EN345
หัวรองเท้าจะต้องมีการป้องกันแรงกระแทกได้สูงถึง 200 จูล
ผ่านการทดสอบของแรงบีบอัดได้
บริเวณส่วนบนของรองเท้านั้นจะต้องมีความหนาที่เพียงพอและสามารถต้านทานของการขัดสีได้ในระดับที่มาตรฐานกำหนดไว้
พื้นรองเท้าต้องสามารถที่จะทนต่อความร้อนได้ดี ต้านทานการขัดสี และสามารถรับแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังต้องทนทานต่อสารเคมีหรือน้ำมันบางชนิดที่มีข้อกำหนด
อักษรย่อตามมาตรฐาน EN345

ทั้งนี้มาตรฐานรองเท้าเซฟตี้ EN345 ยังมีข้อบังคับให้ผู้ผลิตระบุอักษรย่อเพื่อบอกคุณสมบัติของรองเท้าเอาไว้ดังนี้

SB (Safety Basic) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
SBP (SB with pierce resistant midsole) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นต้านทานการแทงทะลุ
S1 (SB with anti-static sole and cushioned heel area) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต
S1P (S1 with pierce resistant midsole) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต รวมทั้ง พื้นต้านทานการแทงทะลุ
S2 (S1 with water resistant upper) สำหรับรองเท้ามีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต รวมทั้ง ส่วนบนต้านทานน้ำ
S3 (S2 with pierce resistant midsole) สำหรับรองเท้าที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐานพร้อมพื้นและบริเวณส้นต้านทานไฟฟ้าสถิต ส่วนบนต้านทานน้ำ รวมทั้ง พื้นต้าน ทานการแทงทะลุ

มาตรฐานรองเท้านิรภัย ANSIZ41.1

หัวของรองเท้าต้องทนต่อการถูกตกกระแทก หรือแรงบีบได้
รองเท้าจะต้องมีแผ่นป้องกันกระดูกเท้าส่วนบน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่กระดูกเท้าด้านบนจะแตกหรือหักจากแรงตกกระแทกได้
รองเท้าจะต้องสามารถกระจายไฟฟ้าสถิตได้ โดยไม่เพียงแต่ต้องป้องกันการถูกไฟดูดเท่านั้น แต่รองเท้ายังต้องเป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระจายลงสู่พื้นได้ด้วย
รองเท้าตัวนำ จะต้องมีคุณสมบัติปล่อยไฟฟ้าสถิตจากร่างกายลงสู่พื้นได้ดี เพื่อป้องการไฟฟ้าสถิตสะสม และอาจเป็นอันตรายได้เมื่อเข้าไปทำงานในจุดที่มีวัตถุหรือสารระเบิด
รองเท้าจะต้องมีความทนทานเพียงพอไม่ให้มีการถูกเจาะทะลุ ส่วนสำคัญของรองเท้าเซฟตี้ตามมาตรฐานข้อนี้อยู่ที่พื้นรองเท้า
รองเท้ากระจายไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นำคุณสมบุติเรื่องการกระจายไฟฟ้าสถิตออกจากตัวผู้สวมใส่ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถต้านทานกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไฟดูดได้


ขอบคุณข้อมูลจาก สาระงานช่าง ฮาร์ดแวร์เฮ้าส์