การตรวจเช็ค Compressor ของ เครื่องลำเลียงปูนผงอัตโนมัติ

09/11/2020 | 3301

 การบำรุงรักษา Twister140 เมื่อใช้งาน มากกว่า 1,000 ชม. ควรตรวจเช็ค จุดต่างๆ ดังนี้

รายการ

ระยะเวลา

รายการบำรุงรักษา

รายการที่ตรวจสอบ รายการที่ดำเนินการ

บำรุงรักษาตามระยะ(Period Maintenance)

รายปี หรือ 1,000 ชั่วโมงการทำงาน

ตรวจเช็ค

  1. เช็คสภาพ และเปลี่ยน หัวล๊อคสาย(Coupling)และ ซีลยาง(Gasget)
  2. ตรวจเช็ค Compressor ของ Twister140
  3. ตรวจเช็คน้ำมันเครื่องมีสีเปลี่ยนไป หรือ แห้ง หรือไม่

บำรุงรักษาตามระยะ(Period Maintenance)

ราย 5 ปี หรือ 5,000 ชั่วโมงการทำงาน

เปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์

เปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ชนิด Oil Gear Lube SAE10W40

บำรุง

รักษาตามระยะ(Period Maintenance)

ราย 10 ปี หรือ 10,000 ชั่วโมงการทำงาน

เปลี่ยนเซฟตี้วาล์ว (Safety valve)

เปลี่ยนเซฟตี้วาล์ว (Safety valve) จากผู้ผลิตที่มีผ่านการอนุญาติ และมีการรับประกัน

   

1.    เมื่อการใช้งาน Twister140 มีชั่วโมงการทำงาน มากกว่า 1,000 ชม. โดยเช๊คจาก ชั่วโมงการทำงาน บนกล่องควบคุม ในเครื่อง พนักงานบริการหลังการขาย จะเข้ารับเครื่องจักร เพื่อทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ในข้อย่อย ข้อ 2. ตรวจเช็ค Compressor ของ Twister140

         

2.    การตรวจสอบเบื้องต้น จะดำเนินการเปิดเครื่อง Twister140 และตรวจสอบ ดังนี้

2.1. ฟังเสียงว่าขณะรันเครื่องว่ามีเสียงดังผิดปกติออกมาจาก Compressor หรือไม่

2.2. ตรวจเช็คสีน้ำม้นเครื่องและปริมาณน้ำมันเครื่อง ตรงจุดดูน้ำมันเครื่องว่า มีสีเปลี่ยนมาก หรือ น้ำมันเครื่องแห้งผิดปกติหรือไม่

 

3.    หากพบว่ามีความผิดปกติ ตามข้อ 2.1 จะดำเนินการ ดังนี้

3.1   ใช้ภาพรายการอะไหล่ของ Compressor ประกอบการถอด เพื่อการตรวจเช็ค Compressor

 

3.2   เตรียมเครื่อง Twister140 พาเลทไม้ เพื่อรองรับการถอด Compressor ออกจาก Twister 140

3.3   ใช้ประแจแหวนปากตาย และ ประแจหกเหลี่ยม ถอดแยกมอร์เตอร์ ออกจาก Compressor

               

 

3.4   ถอดกรองอากาศ สายยางที่ต่อกรองอากาศ ทั้ง 2 ด้านออกจากเครื่อง

  

3.5   เมื่อแยก มอร์เตอร์ ออกจาก Compressor จะพบ กับ ประกับเพลา(ยอย) ที่เป็นตัวถ่ายแรงจากมอร์เตอร์ไปขับ Compressor ดำเนินการตรวจเช็คสภาพ ประกับเพลา ว่ายังมีสภาพดีหรือไม่ มีการถ่ายกำลังสมบูรณ์ หรือไม่ หากสภาพของประกับเพลา เสื่อม ฉีกขาด ย่อมทำให้เกิดการสั่น ส่งกำลังหนีศูนย์ ทำให้การหมุนของแกนเพลา ของ Compressor เกิดปัญหาได้ หากพบว่า ประกับเพลา เสื่อม ฉีกขาด ก็ดำเนินการเปลี่ยนตัวใหม่ให้พร้อมใช้งานต่อไป


3.6   เตรียม งายก โฟร์คลิฟท์ หรือ Aเครน พร้อม เชือก หรือ รอก ในการยกแยก Compressor ออกจากตัวเครื่อง Twister140

3.7   ยกขยับกล่องควบคุมไฟฟ้าของ Twister140 ให้การยกย้าย Compressor ทำได้สะดวก

                                 

3.8   มัด ยก Compressor ออกจากโครงเครื่อง ค่อยๆ ยก ป้องกันการเสียหาย

        

        

3.9   วาง Compressor บนพาเลท (ป้องกันการเสียหาย)

                                    

3.10 เตรียมกระบะ รับน้ำมันเครื่อง และ ประแจแหวนปากตาย ประแจหกเหลี่ยม คีมล๊อค ค้อน สกัดปากแบน ในการถอด Compressor

                        

3.11 ถอด ฝาหน้า ฝาปิดท้าย และฝาข้างบน-ข้างซ้ายขวา ของ ห้องClaw ออก โดยหมุน ห่วงหิ้วเครื่อง ออกก่อน

           

3.12 เปิดช่องถ่ายน้ำมันเครื่อง เดรนน้ำมันเครื่องออก ตรวจสอบด้วยการมองเห็นว่าน้ำมันเครื่องมีสิ่งสกปรก คราบดำ หรือสิ่งแปลงปลอมอื่นๆ ออกปนมาด้วยหรือไม่ )(อาจเป็นสาเหตุให้ ห้อง Claw ติดขัด สึกหรอ)ปริมาณ น้อยเกินไป หรือ ไม่ (ปกติ เติมน้ำมันเครื่องประมาณ 1-1.5 ลิตร                    

               

 

3.13 ถอดเปิดฝาห้อง Claw ขัดน๊อตออก และค่อยๆ ใช้ สกัดแบบ ค้อน เคาะออกเบาๆ

 

    

3.14 เช็ค ใบ Claw เช็คภายในห้อง Claw ปกติ ห้องนี้ จะแห้งไม่มีสิ่งสกปรก และ ใบ Claw หมุน ไม่ขบกัน หากพบฝุ่นผง น้ำ สิ่งสกปรก ก็ทำความสะอาด กรณีตัวอย่างนี้ เราพบ เศษเหล็กชิ้นยาว และ ใบ Claw ด้านหนึ่งบิ่นออกมาเป็น เศษยาว แสดงว่า มีการขบกันของใบ Claw จนเกิดเสียงดัง และสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่อได้ว่า แกนเฟืองอาจ เยื้องศูนย์ เพราะหมุนขบกัน นั่นเอง

 

  กรณีตัวอย่าง พบเศษโลหะแข็ง เป็นเส้น คาดว่า ฟันของใบ Claw ตัวบนขบกับตัวล่าง จนหัก เป็นเศษ

   

3.14 หากหมุนใบ Claw ด้วยมือ ทดสอบ ใบ Claw ไม่ขบกัน ก็ทำความสะอาดเป่า ห้อง Claw และประกอบกลับเช่นเดิม ได้

3.15 กรณี ตัวอย่าง พบว่า ใบ Calw เกิดการหมุนเยื้องศูนย์ จบฟันใบ Claw ขบกัน แสดงว่า แกนเฟือง ต้องดำเนินการปรับตั้งใหม่

3.16 เตรียม ใช้ประแจบล๊อค น้ำม้นโซแน๊ก ตัวดูดสลัก ในการถอดห้องเกียร์

3.17 ดำเนินการถอดฝาครอบห้องเกียร์ เพื่อตรวจสอบ ดำเนินการ โดยใช้ น้ำมันโซแน๊ก ฉีดเพิ่มการหล่อลื่น ทำให้ถอดง่ายขึ้น

         

3.18 ตรวจสอบสภาพเฟือง แกนเฟือง สภาพภายใน

           

 

3.19 ดำเนินการ ถอดใบ Claw เช็ค แกนเฟือง ลูกปืน เกียร์

  

 

3.20 เช็คสภาพซีล เปลี่ยนซีล หากพบว่าหมดสภาพ

3.21 เช็คสภาพ เฟือง แกนเฟืองว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ หากไม่ปกติ ดำเนินการซ่อม เปลี่ยนตามสภาพ                                 

3.22 ดำเนินการ กำหนดจุด หรือ มาร์คเกียร์ และ ปรับตั้ง แกนเพลา ปรับตั้งเฟือง ปรับตั้ง ใบ Claw ใหม่ ให้ได้ศูนย์ตรงกัน

3.23 ประกอบกลับ ห้องเกียร์ และ ห้อง Claw ย้อนกลับ โดยใช้วิธี และเครื่องมือเหมือนตอนถอดออก

3.24 ทดสอบการหมุนของใบ Claw หมุนซ้าย หมุนขวา ตรวจสอบเบื้องต้นว่ายังขบกันหรือไม่ และปรับแต่งจนได้ศูนย์


3.25 เมื่อปรับแต่งดีแล้ว ก็ประกอบห้องเกียร์ ประกอบห้อง Claw กลับตามสภาพ

3.26 เติมน้ำมันเครื่อง ชนิด Oil Gear Lube SAE10W40 ประมาณ 1-1.5 ลิตร ผ่านช่องเติมน้ำมันเครื่อง

3.27 ประกอบ มอร์เตอร์ และ ห้อง Claw กลับตามเดิม

3.28 ประกอบชุด กรองอากาศ และต่อท่ออากาศ กลับสภาพ

3.29 ทดสอบเดินเครื่อง ดูว่ามีเสียงหรือไม่และ ทดสอบระบบให้พร้อมใช้งาน

3.30 นำเครื่องกลับเข้าคลังสินค้า หรือส่งคืนลูกค้าต่อไป

 




บทความจาก ฝ่ายขายเครื่องจักรและอะไหล่ IM

PST Group